ด้วงหนวดยาว
ชื่อเรียกทั่วไป : ด้วงบ่าหนามจุดดำ และ Durian stem borer
ขนาดตัว : ไข่ 2-6 มม. หนอน 80-100 มม.
และตัวเต็มวัย 40-60 มม.
ช่วงที่พบ : ตลอดทั้งปี
จุดสังเกต : ลำต้น
ระดับเศรษฐกิจ : -
การเข้าทำลาย ระยะหนอนจะกัดกินเนื้อไม้ ทำลายท่อน้ำและท่ออาหารของต้นทุเรียน หากไม่ควบคุมอาจเกิดรอยควั่นจากการกัดกินรอบต้นได้ ลักษณะ ไข่ เดี่ยว รูปร่างรี สีขาวขุ่น หนอน รูปร่างแบนเล็กน้อย ลำตัวเป็นปล้อง ส่วนหัวใหญ่กว่าลำตัว สีขาวขุ่น-เหลือง ขนาดใหญ่ แข็งแรง เขี้ยวขนาดใหญ่ ดักแด้ สีเหลือง อาศัยอยู่บริเวณกลางกิ่งหรือลำต้น วางตัวในแนวตั้ง ตัวเต็มวัย แมลงปีกแข็ง สีน้ำตาล ด้านบนปีกมีจุดสีเหลือง-ส้มกระจายทั่วปีก มีหนวด 2 เส้น โดยเพศผู้จะมีหนวดสั้นกว่าเพศเมีย
ชีวภัณฑ์ ไส้เดือนฝอย (ควบคุมหนอน) และเมตาไรเซียม (ควบคุมตัวเต็มวัย)
สารเคมี ไทอะมีแซม 14.1% แลมป์ดา-ไซฮาโลทริน10.6 % โคลไทอะดินิน 16%หรืออิมิดาโคลพริด 10%
วิธีกล
กับดักแสงไฟ ตาข่ายพันรอบต้น (ควบคุมตัวเต็มวัย) และแก๊สแคลเซียมคาร์ไบด์ (ควบคุมหนอน)
ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน เป็นภัยเงียบของชาวสวนทุเรียน
“ ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน ถือว่าเป็นภัยเงียบของเกษตรกร หากไม่มั่นสังเกตจะทราบได้ยากว่าทุเรียนถูกทำลาย โดนส่วนใหญ่จะเห็นเมื่อทุเรียนเกิดรอยควั่นรอบต้นหรือใกล้ยื่นต้นตาย”

