โรคทุเรียน
-
ด้วงกุหลาบ
การเข้าทำลาย กัดกินดอกและใบพืช ทำให้เสียหาย เป็นรูพรุน ลักษณะ ไข่ พบตามกองอินทรียวัตถุกลุ่มละ 20-50 ฟอง หนอน จะหากินบนดิน ตัวเต็มวัย อ้วนกลมสีน้ำตาล-ดำ หากินช่วงกลางคืน โดยในช่วงกลางวันจะหลบซ่อนอยู่บริเวณรากพืช ใน
-
ไรแดงแอฟริกันList Item 2
การเข้าทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณหน้าใบ จนทำให้เกิดเป็นจุดสีขาวขนาดเล็ก หากระบาดรุนแรงใบจะซีดขาว และมีคราบคล้ายฝุ่นอยู่บนใบ ซึ่งเป็นการลอกคราบของตัวอ่อนไรแดง
-
เพลี้ยแป้ง
การเข้าทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อนและผลแก่ทุเรียน โดยบริเวณที่ถูกทำลายชะงักการเจริญ หากทำลายในระยะผลแก่มักไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพเนื้อ
-
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
การเข้าทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน เมื่อเข้าสู่ระยะใบเพสลาดมักมีจำนวนลดลง หากเข้าทำลายใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หากระบาดมากใบมีอาการหงิกงอ แห้ง และร่วง
-
เพลี้ยไฟพริกList Item 1
การเข้าทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณเส้นกลางใบอ่อน ทำให้ใบเป็นสีน้ำตาล หงิก ไหม้ หรือหลุดร่วงได้ รวมไปถึงทำให้ดอกแห้ง การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ซึ่งหากเข้าทำลายผลอ่อน จะทำให้ผลแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดทุเรียนหนามจีบ ส่งผลให้ราคาขายต่ำ
-
มอดเจาะลำต้น
การเข้าทำลาย เจาะรูความยาวลึกประมาณ 2-3 มม. เพื่อกัดกินเนื้อไม้และวางไข่ สังเกตได้จากบริเวณปากรูมีขุยละเอียดซึ่งเป็นมูลของมอด โดยเข้าทำลายได้ตั้งแต่ระยะหนอนจนถึงตัวเต็มวัย ซ้ำยังเป็นพาหนะนำโรครากเน่าโคนเน่า และกิ่งแห้งได้
-
เพลี้ยหอยเกล็ด
การเข้าทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยง ยอด ใบ กิ่ง ตา และขั้วผล หากระบาดรุนแรงส่วนที่ถูกทำลายจะเป็นสีเหลืองหรือแห้งตาย กรณีพบบนใบจะพบรอยด่างสีเหลือง
-
หนอนเจาะผล
การเข้าทำลาย แทะเปลือกผลทุเรียนอายุประมาณ 2 เดือนขึ้นไป หากแทะถึงเนื้อจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเน่าเมื่อผลสุก หากทุเรียนออกลูกชิดกันจะยิ่งเพิ่มโอกาสการทำลายสูง เนื่องจากผีเสื้อมาวางไข่
-
ด้วงหนวดยาว
การเข้าทำลาย ระยะหนอนจะกัดกินเนื้อไม้ ทำลายท่อน้ำและท่ออาหารของต้นทุเรียน หากไม่ควบคุมอาจเกิดรอยควั่นจากการกัดกินรอบต้นได้