เพลี้ยแป้ง
ชื่อเรียกทั่วไป : เพลี้ยแป้งแปซิฟิค และ Mealybugs
ขนาดตัว : ตัวเต็มวัย 3 มม.
ช่วงที่พบ : มีนาคม-มิถุนายน
จุดสังเกต : กิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน และผลแก่
ระดับเศรษฐกิจ : 5 ตัว/ผล หรือดอก
การเข้าทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อนและผลแก่ทุเรียน โดยบริเวณที่ถูกทำลายชะงักการเจริญ หากทำลายในระยะผลแก่มักไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพเนื้อ
ลักษณะ ไข่ เป็นกลุ่ม 100-200 ฟอง ตัวอ่อน คล้ายตัวเต็มวัย มีสีเหลือง ตัวเต็มวัย เพศเมียมีสีเหลืองอ่อน-ชมพู ลำตัวกลมอ้วนสั้น-รี มีผงไขสีขาวปกคลุม เส้นกลางลำตัวสีดำ ตัวเต็มวัยเพศผู้มีปีกและตัวเล็กกว่า และสามารถอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นหญ้าในสวน
ชีวภัณฑ์ เชื้อราบิวเวอเรียผสมไวออยฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน หากพบการระบาดหนักปรับฉีดพ่นทุก ๆ 3-4 วัน เน้นบริเวณกิ่ง และผล
สารเคมี สารเคมีคาร์บาริล 85% หรือมาลาไทออน 85% (กำจัดมดที่เป็นพาหนะ)แมลงศัตรูธรรมชาติ ด้วงเต่า และตัวห้ำ
วิธีกล มั่นตัดหญ้าในสวนเพื่อทำลายที่หลบอาศัย หรือตัดใบ/ยอด ที่พบการระบาดนำไปกำจัดนอกพื้นที่
เพลี้ยแป้ง มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เกาะเพื่อดูดน้ำเลี้ยงบริเวณกิ่ง
