มอดเจาะลำต้น
ชื่อเรียกทั่วไป : Shole hole borer
ขนาดตัว : ตัวเต็มวัย 3-4 มม.
ช่วงที่พบ : ตลอดทั้งปี
จุดสังเกต : ลำต้น และกิ่ง
ระดับเศรษฐกิจ : -
การเข้าทำลาย เจาะรูความยาวลึกประมาณ 2-3 มม. เพื่อกัดกินเนื้อไม้และวางไข่ สังเกตได้จากบริเวณปากรูมีขุยละเอียดซึ่งเป็นมูลของมอด โดยเข้าทำลายได้ตั้งแต่ระยะหนอนจนถึงตัวเต็มวัย ซ้ำยังเป็นพาหนะนำโรครากเน่าโคนเน่า และกิ่งแห้งได้ ลักษณะ ไข่ กลุ่มละ 5-8 ฟอง สีขาวใสอยู่ภายในรู หนอน ไม่มีขารูปร่างคล้ายตัว C และเริ่มเข้าสู่ดักแด้ มีสีขาวอมเหลืองขนาดใกล้เคียงตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัย ตัวเมียมีขนาดใหญ่ และมีปริมาณมากกว่าตัวผู้ รูปร่างทรงกระบอก สีดำมันปนน้ำตาล ลำตัวปกคุลมไปด้วยขนสั้น ๆ
ชีวภัณฑ์ เชื้อราเมตาไรเซียมฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน หากพบการระบาดหนักปรับฉีดพ่นทุก ๆ 3-4 วัน เน้นโคนต้น ลำต้น และกิ่ง
สารเคมี สามารถเลือกใช้ได้หลายกลุ่ม เช่น ไทโอดิคาร์บ 75% ฟิโพรนิล 5% อิมิดาโคลพริด 10% หรือ ไทอะมีทอกแซม 25% เป็นต้น (สุเทพ สหายา)
วิธีกล มั่นตัดแต่งกิ่ง และหากพบกิ่งที่ถูกทำลายให้ตัดทิ้ง และนำไปเผากำจัด
มอดเจาะลำต้น หากเข้าทำลายต้นอ่อนทุเรียน อาจส่งผลให้ยื่นต้นตายสูง
