เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
ชื่อเรียกทั่วไป : เพลี้ยไก่ฟ้า และ Durian psyllid
ขนาดตัว : ตัวเต็มวัย 5 มม.
ช่วงที่พบ : พฤษภาคม-ตุลาคม
จุดสังเกต : หลังยอดใบ และใบอ่อน
ระดับเศรษฐกิจ : 5 ตัว/ยอด
การเข้าทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน เมื่อเข้าสู่ระยะใบเพสลาดมักมีจำนวนลดลง หากเข้าทำลายใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หากระบาดมากใบมีอาการหงิกงอ แห้ง และร่วง การเข้าทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน เมื่อเข้าสู่ระยะใบเพสลาดมักมีจำนวนลดลง หากเข้าทำลายใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หากระบาดมากใบมีอาการหงิกงอ แห้ง และร่วง
ชีวภัณฑ์ เชื้อราบิวเวอเรียฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน หากพบการระบาดหนักปรับฉีดพ่นทุก ๆ 3-4 วันเน้นบริเวณหลังใบ
สารเคมี สารเคมีแลมบ์ดาไซฮาโลทริน 5% เน้นบริเวณหลังใบฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน แมลงศัตรูธรรมชาติ แมลงช้างปีกใส แตนเบียน และด้วงเต่า(สีส้ม ลายหยัก ลายสมอฯ)
วิธีกล กระตุ้นให้ทุเรียนในสวนแตกใบอ่อนพร้อม ๆ กัน เพื่อลดระยะเวลาการเข้าทำลาย หรือตัดใบ/ยอดที่พบการระบาดนำไปกำจัดนอกพื้นที่
เพลี้ยไก่ระยะตัวอ่อน เป็นระยะที่พบเห็นง่าย เนื่องจากมีสีขาว พบบริเวณหลังใบอ่อน เคลื่อนที่รวดเร็ว
