รากเน่าโคนเน่า


ชื่อเรียกทั่วไป : Damping-off

จุลินทรีย์สาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora palmivora

ช่วงที่พบ : ทุกช่วง (ระมัดระวังพิเศษ พฤษภาคม-ตุลาคม)

จุดสังเกต : ราก โคนต้นจนถึงลำต้น และใบ

ลักษณะและการเข้าทำลาย รากฝอย เปลือกล่อนและยุ่ยเป็นสีน้ำตาล (มักปรากฏในสวนทุเรียนที่ปลูกแบบยกร่อง) กิ่ง โคนต้นและรากแขนง แรกเริ่มมีคราบน้ำบนเปลือกผิว พร้อมรอยแตกขนาดเล็กทำให้น้ำยางซึมออกมาได้ หากรุนแรงมากขึ้น จะพบแผลเน่าสีน้ำตาลเข้ม-ดำ บริเวณกลางแผลสีเข้มกว่ารอบนอก มีเมือกไหลเยิ้มออก ใบ ใบอ่อนเหี่ยว เหลือง เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ และใบอาจแห้งคาต้นอย่างรวดเร็ว คล้ายน้ำร้อนลวก ซึ่งต้นทุเรียนสามารถแสดงอาการของโรคได้นานถึง 1-2 ปี ก่อนจะยืนต้นตาย อีกทั้งอาจมีจุลินทรีย์ฉวยโอกาสชนิดอื่น ๆ เข้ามาก่อโรคซ้ำได้อีก

ชีวภัณฑ์ เชื้อราไตรโคเดอร์หรือบาซิลัสซับทิลิสพ่นทุกๆ 7 วันหากพบการระบาดหนักปรับฉีดพ่นทุกๆ 3-4 วันเน้นบริเวณลำต้นรากและดินซึ่งสามารถถากแผลที่ฉ่ำน้ำออกและใช้ไตรโคเดอร์มาทาบริเวณแผล

สารเคมี เมทาแลกซิล 25% หรือฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% เน้นบริเวณหลังใบฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน

หรือใช้สารฟอสโฟนิกแอซิด 40% ฉีดเข้าลำต้น

วิธีกล ปรับสภาพดินให้มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 6.5 โดยใช้ปูนขาวหรือโดโลไมท์ อัตราส่วน 100-200 กก./ไร่ พร้อมทั้งระบายน้ำในสวนไม่ให้มีน้ำท่วมขัง

แผลช้ำน้ำจากเชื้อรา ที่เข้าทำลาย หากไม่รีบทำการรักษา ทุเรียนมีโอกาสยืนต้นตายสูง