หนองเจาะผล
ชื่อเรียกทั่วไป : หนอนเจาะผลละหุ่ง และ Yellow peach moth
ขนาดตัว : หนอน 9-15 มม.
ช่วงที่พบ : มีนาคม-มิถุนายน
จุดสังเกต : ผลอ่อน และผลแก่
ระดับเศรษฐกิจ : -
การเข้าทำลาย แทะเปลือกผลทุเรียนอายุประมาณ 2 เดือนขึ้นไป หากแทะถึงเนื้อจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเน่าเมื่อผลสุก หากทุเรียนออกลูกชิดกันจะยิ่งเพิ่มโอกาสการทำลายสูง เนื่องจากผีเสื้อมาวางไข่ ลักษณะ ไข่ รูปร่างกลม สีเหลืองใส หลบซ่อนอยู่ตามหนามทุเรียน หนอนวัยหนึ่ง หัวสีน้ำตาล ลำตัวสีขาว หนอนวัยสอง หัวและจุดข้างลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ดักแด้ สีน้ำตาลเข้ม หลบซ่อนอยู่ตามหนามทุเรียน ตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีเหลือง มีจุดสีดำทั่วปีก
ชีวภัณฑ์ เชื้อราบิวเวอเรีย (คุมไข่) และแบคทีเรียบีที (คุมหนอน)
สารเคมี แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 5% หรือคาร์โปฟูแรน 20%
วิธีกล ถุงแดงห่อผล กับดักแสงไฟ โฟมกันระหว่างลูกทุเรียน
ผีเสื้อหนอนเจาะผล มักวางไข่ตามซอกหนามทุเรียน
